เทฟล่อน หรือ PTFE เป็นสารประกอบประเภท fluorocarbon ซึ่งมีค่าสัมประสิทธ์ความเสียดทานต่ำที่สุดในสารจำพวกของแข็ง มีคุณสมบัติสำคัญคือไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่นๆอันเนื่องมาจากความแข็งแรงของพันธะทางเคมีระหว่าง carbon และ fluorine จึงทำให้เทฟล่อนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหน้างานที่ต้องเจอกับสารเคมีที่มีการกัดกร่อนที่รุนแรง
เทฟลอน (Teflon®) เป็นชื่อทางการค้าของสาร polytetrafluoroethylene (PTFE) ซึ่งค้นพบโดย ดร. Roy Plunkett จากบริษัท ดูปองด์ (Du Pont) ในปี พ.ศ.2481(ค.ศ. 1938) และได้รับสิทธิบัตรภายใต้ชื่อการค้าดังกล่าวใน 5 ปีต่อมา เนื่องจากสาร PTFE หรือ Teflon® เป็นสารที่มีความลื่นสูง ทนความร้อน ทนกรดด่างและ ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ทำให้นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสนำสารชนิดนี้ มาเคลือบกระทะได้เป็นกระทะแบบอาหารไม่ติด (non-stick pan) ภายใต้ชื่อการค้า เทฟาล (Tefal) ซึ่งย่อมาจาก Tetra Ethylene Fluorine Aluminium ในปี พ.ศ.2499 (ค.ศ. 1956) หลังจากประสบความสำเร็จในการผลิตกระทะแบบอาหารไม่ติด ได้มีการนำ Teflon® มาเคลือบอุปรณ์และเครื่องครัวอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ถาดอบขนม พิมพ์สำหรับทำคุ๊กกี้ ตะหลิว ไม้คลึงแป้ง ช้อน เครื่องตีไข่ กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องครัวที่เคลือบด้วย Teflon® ได้รับความนิยมอย่างมากจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องครัวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือ เป็นเครื่องครัวแบบอาหารไม่ติด (non-stick cookingware) สามารถใช้ปรุงอาหารได้โดยไม่ต้องใช้น้ำมัน ทำความสะอาดได้ง่าย และสามารถป้องกันผิวของโลหะภายในจากน้ำและออกซิเจน ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสนิมและการผุกร่อนของผิวโลหะ ในประเทศไทยเองก็ได้มีการนำ Teflon® มาเคลือบบาตรพระ เพื่อให้ล้างทำความสะอาดง่าย ทนทานและดูแลรักษาง่ายขึ้น ดังในรูปที่ 1
ในปัจจุบันมีการใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอนกันอย่างแพร่หลาย ทำให้คำว่า “เทฟลอน” เป็นคำที่คนทั่วไปรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยคนทั่วไปมักคิดว่า การใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอนปรุงอาหารดีต่อสุขภาพ เพราะไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่ต้องกลัวอ้วน แต่การใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอนผิดวิธีก็ส่งผลต่อสุขภาพได้ ทั้งนี้เนื่องจาก Teflon® จะเริ่มเกิดการสลายตัวและสูญเสียความลื่นไป เมื่อได้รับความร้อนสูงกว่า 260 °C หรือ 500 °F และที่อุณหภูมิสูงกว่า 400 °C หรือ 752 °F จะมีการปลดล่อยก๊าซ carbonyl fluoride (COF2 ) ออกมา โดยก๊าซชนิดนี้เป็นพิษรุนแรงต่อนกและสัตว์ปีก โดยทำให้นกตายจากการมีของเหลวคั่งและมีเลือดออกในปอด ส่วนในคนจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ Teflon flu” หรือ “Polymer fume fever “ โดยจะมีอาการปวดศรีษะ เป็นไข้ หนาวสั่น คล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ (flu-like symptom) ดังนั้นการใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอนอย่างถูกวิธี ก็จะไม่มีอันตราย เช่นเดียวกับการใช้พลาสติกชนิดอื่น
บริษัท ผู้ผลิต ได้แนะนำวิธีการใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอนอย่างถูกวิธีใน Web sitehttp://www2.dupont.com/Teflon/en_US/products/safety/cookware_safety.html (ตารางที่1) โดยสรุปคือ
1. ควรอ่านคู่มือการใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอน ก่อนใช้งาน เพื่อจะได้ทราบวิธีใช้ที่ถูกต้อง อุณหภูมิที่เหมาะสมและปลอดภัย
2. ควรใช้ไฟในระดับ ปานกลาง ถึง ต่ำ ในการปรุงอาหารด้วยภาชนะเคลือบเทฟลอน ซึ่งจะให้ความร้อนไม่เกิน 260 °C หรือ 500 °F
3. ทิ้งภาชนะเคลือบเทฟลอนที่ไม่มีอาหาร หรือน้ำ ในเตาอบ หรือบนเตาไฟ หรืออุ่นภาชนะก่อนใช้ (preheat) เพราะจะทำให้ภาชนะร้อนเกินไป(overheat) และปล่อยไอของสารที่เป็นพิษต่อทางเดินหายใจออกมา
4. ควรเลือกใช้ภาชนะให้เหมาะสม กับวิธีปรุงอาหารและชนิดของอาหาร เช่น สามารถใช้กระทะเทฟลอนในการทอดเนื้อได้ เนื่องจากการทอดเนื้อจะใช้อุณหภูมิประมาณ 204-243 °C
บริษัท ผู้ผลิต ได้แนะนำวิธีการใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอนอย่างถูกวิธีใน Web sitehttp://www2.dupont.com/Teflon/en_US/products/safety/cookware_safety.html (ตารางที่1) โดยสรุปคือ
1. ควรอ่านคู่มือการใช้ภาชนะเคลือบเทฟลอน ก่อนใช้งาน เพื่อจะได้ทราบวิธีใช้ที่ถูกต้อง อุณหภูมิที่เหมาะสมและปลอดภัย
2. ควรใช้ไฟในระดับ ปานกลาง ถึง ต่ำ ในการปรุงอาหารด้วยภาชนะเคลือบเทฟลอน ซึ่งจะให้ความร้อนไม่เกิน 260 °C หรือ 500 °F
3. ทิ้งภาชนะเคลือบเทฟลอนที่ไม่มีอาหาร หรือน้ำ ในเตาอบ หรือบนเตาไฟ หรืออุ่นภาชนะก่อนใช้ (preheat) เพราะจะทำให้ภาชนะร้อนเกินไป(overheat) และปล่อยไอของสารที่เป็นพิษต่อทางเดินหายใจออกมา
4. ควรเลือกใช้ภาชนะให้เหมาะสม กับวิธีปรุงอาหารและชนิดของอาหาร เช่น สามารถใช้กระทะเทฟลอนในการทอดเนื้อได้ เนื่องจากการทอดเนื้อจะใช้อุณหภูมิประมาณ 204-243 °C
5. ไม่ควรใช้ภาชนะที่เคลือบด้วยเทฟลอนในการปรุงอาหารที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า 250 °C ควรใช้ภาชนะที่ทำจากกระเบื้องหรือแก้วทนความร้อน แทน
6. เมื่อปรุงอาหารด้วยภาชนะที่เคลือบด้วยเทฟลอนโดยใช้ความร้อน ควรเปิดหน้าต่างและพัดลมดูดอากาศ เพื่อช่วยระบายและป้องกันการหายใจเอาก๊าซ carbonyl fluoride (COF2 ) ซึ่งมีความเป็นพิษสูง เข้าสู่ร่างกาย
Polytetrafluoroethylene (PTFE)
IUPAC name : Poly(difluoromethylene)
Other names : Teflon, Syncolon, Fluon, Poly(tetrafluoroethene),
Poly(tetrafluoroethylene)
Poly(tetrafluoroethylene)
CAS number : 9002-84-0
คุณสมบัติทางเคมี
Polytetrafluoroethylene (PTFE) หรือ Teflon® เป็นของแข็งที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง สีค่อนข้างขาว ทึบแสง น้ำหนักเบา และ มีค่าความเสียดทานต่ำมาก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานอยู่ในช่วง 0.05 ถึง 0.10 คุณสมบัติดังกล่าวทำให้สารต่างๆ ไม่ว่า น้ำ หรือน้ำมัน ก็ไม่สามารถเกาะติดผิวที่เคลือบด้วย PTFE ได้ นอกจากนี้ PTFE ยังเป็นสารพอลิเมอร์ที่มีความคงตัวสูง ทนต่อแสง UV ทนต่อกรด-ด่างและสารเคมีชนิดอื่นได้ดี ทนความร้อนได้ดี หลอมเหลวที่อุณหภูมิ 327 °C หรือ 621 °F แต่ที่อุณหภูมิสูงกว่า 260 °C หรือ 500 °F จะเริ่มเกิดการสลายตัวของสารพอลิเมอร์และสูญเสียความ ลื่นไป โดยการสลายตัวตังกล่าวจะเห็นชัดที่อุณหภูมิสูงกว่า 400 °C และที่อุณหภูมินี้เองจะมีก๊าซ carbonyl fluoride (COF2 ) ซึ่งมีความเป็นพิษสูง ถูกปลดล่อยออกมา สารดังกล่าวเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำในทางเดินหายใจ จะได้แก๊ส carbon dioxide และ กรด Hydrofluoric Acid (HF ) ซึ่งเป็นกรดที่แรงและทำอันตรายต่อเยื่อบุในทางเดินหายใจ
การใช้ประโยชน์
เทฟลอน มีคุณสมบัติของดังนี้ เมื่อเคลือบบนพื้นผิวจะทำให้น้ำหรือน้ำมันไม่เกาะติด ไม่ละลายในตัวทำละลายใด ๆ ทนทานต่ออุณหภูมิสูง ทนต่อการออกซิไดส์ ทนต่อแสงยูวี ทำให้มีการนำสารดังกล่าวมาใช้ประโยชน์มากมาย ส่วนมากนำมาใช้เคลือบภาชนะเครื่องใช้ในครัว บรรจุภัณฑ์ของอาหาร เพื่อให้สามารถปรุงอาหารโดยไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่ติดกระทะ ทำความสะอาดง่าย และเหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพ นอกจากเครื่องครัวยังมีการนำ Teflon® มาผสมสีทาบ้าน เพื่อให้ไม่ติดคราบสกปรก ทำให้ผนังทำความสะอาดง่ายและช่วยป้องกันการรั่วซึมของน้ำ ใช้ผสมในเส้นใยสำหรับผลิตสิ่งทอภายใต้ชื่อ ชื่อ กอร์เท็กซ์ (Gore-tex®) และ ใช้เคลือบบนพรม เพื่อให้ทำความสะอาดง่ายและไม่ติดคราบสกปรก และจากคุณสมบัติที่มีความลื่นสูง จึงมีการนำ Teflon® มาใช้เป็นสารหล่อลื่น และมีการนำ Teflon® ไปใช้เคลือบผิวอุปกรณ์การแพทย์ เช่น เข็มเจาะเลือด หรือใช้ท่อ Teflon® เป็นหลอดเลือดเทียม (vascular grafts) ในกรณีที่เส้นเลือดอุดตันหรือถูกทำลาย เนื่องจากผิวของวัสดุที่เคลือบด้วย Teflon® มีความลื่นสูง เกิดปฏิกิริยากับสารเคมีต่างๆได้ต่ำ กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ (inflammation) และกระตุ้นให้เกิดการจับตัวเป็นลิ่มเลือด (thrombogenic reactivity )ได้ต่ำกว่าพลาสติกชนิดอื่น จึงนิยมใช้เป็น “material of choice” สำหรับการปลูกถ่ายเส้นเลือดเทียมสำหรับเส้นเลือดขนาดเล็ก (small diameter vascular grafts) การผ่าตัดบายพาส (bypass) ของหลอดเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ
ในปีพ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1975) องค์การอาหารและยา แห่งสหรัฐอเมริกา (US-FDA) ได้รับรองการใช้สิ่งทอจากเส้นใยผสม Teflon® หรือ กอร์เท็กซ์ (Gore-tex®) เป็นวัสดุเนื้อเยื่อเทียมของมนุษย์ในทางศัลยกรรมพลาสติก รวมถึงการใช้เป็นนหลอดเลือดเทียมในการผ่าตัดหัวใจและทรวงอก การทำ bypass หรือ stent ในการทำ ballon เนื่องจากมีความสามารถทนต่อแรงดันเลือดได้ดีและสามารถเข้ากันได้กับร่างกายมนุษย์ในทางชีวภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น